ผลที่สำคัญ ของ การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา)

ความพอใจในการงาน

วรรณกรรมแสดงอย่างสม่ำเสมอว่า CSE สัมพันธ์กับความพอใจในการงานในระดับสำคัญ[1][3][9][18][19]และงานวิจัยเบื้องต้นปี 2540 ที่ตรวจสอบแนวคิดนี้[1]จริง ๆ แล้วพัฒนา CSE ขึ้นเพื่อชี้ลักษณะนิสัยที่สามารถพยากรณ์ความพอใจในการงานอย่างสมเหตุสมผลและตั้งแต่มีบทสร้างนี้ งานวิจัยต่อ ๆ มาก็ยังคงสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงาน ซี่งแสดงว่า คนที่ประเมินตัวเองในเชิงบวกยิ่งกว่า (คือประเมินตนเองดีใน CSE) มีโอกาสพอใจในการงานสูงกว่าคือยังยืนยันว่า ลักษณะของ CSE พยากรณ์ความพอใจในการงานได้ในระยะยาว[18][20]บุคคลที่ประเมินตัวผ่าน CSE ในระดับดีมีโอกาสพอใจในการงานในช่วงชีวิตที่ทำงานสูงกว่า

แม้ว่า หลักฐานว่า CSE สามารถพยากรณ์ความพอใจในงาน จะมีหลักฐานที่แสดงอย่างสม่ำเสมอทั่ววรรณกรรมทางจิตวิทยาแต่ว่า งานเบื้องต้นปี 2540 ก็ยังเสนอให้ตรวจสอบตัวแปรอื่น ๆ อีกที่อาจมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์นี้[1]ดังนั้น วรรณกรรมต่อ ๆ มาจึงได้เริ่มตรวจสอบอิทธิพลของบทสร้าง (construct) ต่าง ๆ ต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงาน ซึ่งจะกล่าวต่อไป

บทบาทของลักษณะงานที่รู้สึก

ลักษณะงานก็คือคุณสมบัติ 4 อย่างของงานที่คนมักจะเห็นว่าสำคัญ รวมทั้งความรู้สึกว่าตนเข้ากับงาน (identity) ความหลายหลากของงาน (variety) ความรู้สึกว่างานมีผลต่อคนอื่น (significance) การได้รับฟี้ดแบ็กที่มีประโยชน์ (feedback) และอิสรภาพในการตัดสินใจ (autonomy)[21]ลักษณะงานเหล่านี้มีอิทธิพลสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงานงานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า ลักษณะงานที่ตนรู้สึกเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงานโดยส่วนหนึ่ง[3][20][22]กล่าวอีกอย่างก็คือ บุคคลที่ประเมินตัวเองดีกว่า (คือมีคะแนน CSE สูง) และได้งานที่มีลักษณะที่ว่า 4 อย่าง มีโอกาสพอใจในงานสูงกว่า

มีทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายการอำนวยความสัมพันธ์นี้โดยหลักก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับคุณลักษณะของงาน และโดยเป็นผลตามมา กับความพอใจในงาน สามารถอธิบายได้โดยใช้แบบจำลองที่เป็นไปได้ 2 อย่างแบบจำลองแรก ที่รู้จักกันว่า action mediation model (แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำ) แสดงว่า ระดับ CSE ในบุคคลมีผลต่อสิ่งที่ตนทำเพื่อจะได้งานที่มีลักษณะที่สมควร[1]ตามแบบจำลองนี้ คนที่มีคะแนน CSE สูงมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาสถานการณ์ทางอาชีพที่สามารถทำให้งานเสร็จโดยได้ผลบวกกล่าวอีกอย่างก็คือ คนที่ประเมินตัวเองสูง (คือได้คะแนน CSE สูง) จะมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาและได้งานที่มีคุณลักษณะที่สมควร และดังนั้น จะได้ความพอใจในงานที่ดีกว่า[20]แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำยังอธิบายได้ด้วยว่า บุคคลที่มีคะแนน CSE สูงอาจทำการมากกว่าเพื่อเปลี่ยนลักษณะงานที่ได้อยู่แล้วยกต้วอย่างเช่น ผู้ที่ได้คะแนนสูงอาจจะมีโอกาสหาฟี้ดแบ็กสูงกว่าคนที่มีคะแนนต่ำ และดังนั้นจะรู้สึกว่ามีฟี้ดแบ็กในงานสูงกว่าและพอใจในงานมากกว่า[22]

แบบจำลองที่สอง คือ perception mediation model (แบบจำลองอำนวยโดยความรู้สึก) เสนอว่าบุคคลที่ได้คะแนนสูงมีโอกาสรู้สึกว่างานมีลักษณะที่สมควรมากกว่าบุคคลที่มีคะแนนต่ำ[22][20][3]ยกตัวอย่างเช่น คนที่ได้คะแนนต่ำมีโอกาสรู้สึกว่ามีอิสระในงานน้อยกว่า และดังนั้น จึงพอใจในงานน้อยกว่าเพราะเชื่อว่า ปัจจัยภายนอกเป็นตัวควบคุมชีวิตของตนเทียบกับคนที่ได้คะแนนสูงผู้จะรู้สึกอิสระมากกว่า ว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และดังนั้น จึงรู้สึกพอใจในงานมากกว่า[22]

งานปี 2552[22]ขยายการตรวจสอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ CSE, ลักษณะงาน, และความพอใจในงาน โดยตรวจดูว่าลักษณะงานอะไรสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์เชื่อมกันแบบนี้งานศึกษานี้พบว่า ความสำคัญของงาน (คืออิทธิพลของงานต่อคนอื่น) มีอิทธิพลสำคัญที่สุดต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานถ้าใช้แบบจำลองอำนวยโดยความรู้สึก นี่แสดงว่า คนที่มีคะแนนสูงจะรู้สึกว่างานของตนสำคัญมากกว่าของคนอื่นและดังนั้น จะพอใจในงานมากกว่าแต่ว่า งานศึกษาก็ยอมรับว่า อาจมีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่ง คือคนที่ได้คะแนนสูงจะมั่นใจในการกระทำของตนและจะหางานที่มีเป้าหมายยิ่งกว่า ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่ามีความหมายสูงกว่า และต่อมาจึงพอใจมากกว่าซึ่งเป็นคำอธิบายที่แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำจะพยากรณ์แต่ว่าจริง ๆ แล้ว มีโอกาสมากว่า จะเป็นแบบที่รวมทั้ง 2 แบบจำลอง ที่อธิบายบทบาทของลักษณะงานต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานได้ดีที่สุด

บทบาทความซับซ้อนของงาน

งานศึกษาลักษณะงานมักจะวัดลักษณะงานโดยอัตวิสัย คือผู้ร่วมการทดลองแจ้งเองอย่างไรก็ดี มีการแสดงแล้วด้วยว่า การวัดลักษณะงานโดยเป็นปรวิสัย เช่น งานยากแค่ไหน (ความซับซ้อน) มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานด้วยโดยเฉพาะก็คือ ความซับซ้อนของงานอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานเป็นบางส่วน ดังนั้น ผู้ที่ได้คะแนน CSE สูงที่มีงานที่ซับซ้อน มีโอกาสพอใจในงานสูงกว่า[3][23]แต่ก็เหมือนลักษณะงานอื่น ๆ ที่มีทฤษฎีอธิบายความสัมพันธ์ได้มากกว่าหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คนที่ได้คะแนนสูงสนใจงานที่ซับซ้อนมากกว่าเพราะเห็นรางวัลโดยตัวงานเองมากกว่าหรือว่า คนที่มีคะแนนสูงอาจเพียงรู้สึกว่างานซับซ้อนกว่างานศึกษาปี 2543[20]วัดความซับซ้อนของงานโดยตำแหน่ง แล้วได้ยืนยันคำอธิบายทั้งสองอย่างเหล่านี้คือพบว่า คนที่ได้คะแนนสูงไม่เพียงรู้สึกว่างานซับซ้อนกว่า แต่มีโอกาสมีงานที่ซับซ้อนยิ่งกว่า ซึ่งทำให้พอใจสูงกว่า

บทบาทของความลงรอยกันกับเป้าหมาย

ความลงรอยกันกับเป้าหมาย (Goal congruence) อาจมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานหลักทฤษฎีของความลงรอยกับเป้าหมายแสดงว่า คนที่เลือกเป้าหมายที่เข้ากับตัวเอง (คือลงรอยกัน) จะมีความสุขมากกว่าเมื่อทำตามเป้าหมาย มีโอกาสตั้งใจพยายามให้ถึงเป้าหมายมากกว่า และดังนั้น มีโอกาสถึงเป้าหมายสูงกว่าเป้าหมายที่เข้ากันกับตัวเองคือเป้าหมายที่มุ่งปัจจัยภายในยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำตามเป้าหมายที่เข้ากับตัวเองจะเลือกเป้าหมายที่ตนรู้สึกว่าสำคัญต่อตน และที่ตนจะชอบใจโดยเปรียบเทียบกันแล้ว เป้าหมายที่ไม่เข้ากับตนจะมุ่งปัจจัยภายนอกผู้ที่เลือกเป้าหมายไม่เข้ากับตัวเองจะมุ่งหลีกเลี่ยงอารมณ์เชิงลบ (เช่น ความวิตกกังวลหรือความรู้สึกผิด) โดยทำการตามความพอใจของคนอื่น หรือตามรางวัลที่ได้ในภายนอก เช่น เงินทอง[24]

งานศึกษาปี 2548[25]พบว่าความลงรอยกับเป้าหมาย หรือการเลือกเป้าหมายที่เข้ากันตนเอง อำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานเป็นบางส่วนผู้เขียนอธิบายว่า บุคคลที่มองตนในแง่ดี (คือ มี CSE สูง) เชื่อว่าตนมีความสามารถและเก่ง และดังนั้น จึงมีโอกาสตกอยู่ในอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกน้อยกว่าและจึงมีโอกาสเลือกเป้าหมายที่เข้ากันตนมากกว่า ซึ่งทำให้พอใจสูงกว่าโดยเปรียบเทียบกันแล้ว คนที่มองตัวเองในแง่ลบจะเสี่ยงตกอยู่ในอิทธิพลของปัจจัยภายนอก เช่น ความวิตกกังวลและความรู้สึกผิดและดังนั้น จึงมีโอกาสทำตามเป้าหมายที่ไม่เข้ากับตน และจะรายงานความพอใจน้อยกว่า

ประสิทธิภาพของงาน

การพยากรณ์ประสิทธิภาพของงานเป็นผลที่สม่ำเสมอและสำคัญของ CSE อีกอย่างหนึ่ง[9][26][27][28]มีการพัฒนาทฤษฎีหลายทฤษฎีว่า CSE สัมพันธ์กับประสิทธิภาพงานได้อย่างไร

ทฤษฎีที่นิยมมากที่สุดอ้างว่า คนที่มีคะแนนสูงจะมีแรงจูงใจทำให้ดีเพราะมั่นใจว่าสามารถทำได้[9]ส่วนอีกทฤษฎีเสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับประสิทธิภาพการทำงานมีเหตุจากความที่เจ้านายชอบใจความคิดเชิงบวกของคนที่ได้คะแนนสูง แล้วประเมินประสิทธิภาพงานของบุคคลนั้นเหนือกว่าส่วนอีกทฤษฎีอ้างว่า CSE สูงอาจเป็นปัจจัยทางความสามารถอย่างหนึ่งเป็นทฤษฎีที่เกิดจากความหยั่งรู้ในเรื่อง CSE จากความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่พบในวรรณกรรมยกตัวอย่างเช่น วรรณกรรมได้เชื่อมบทสร้างเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับตนเชิงบวก (positive self-concept) ซึ่งคล้ายกับ CSE กับความสามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้[29]

นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะย่อย ๆ ของ CSE เช่น ความเสถียรทางอารมณ์ (emotional stability) มีหลักฐานว่าสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานในกลุ่ม(Mount, Barrick, & Stewart, 2538 อ้างอิงใน[29])และก็มีการเสนอว่าคนมองตนเองดีมีโอกาสทำหน้าที่บริการลูกค้าได้ดีกว่าเพราะแสดงอารมณ์ที่ดีกว่า[30]ดังนั้น สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ชี้ว่า คนที่ได้คะแนน CSE สูงอาจบ่งว่า คนนั้นสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ดี ทำงานในกลุ่มได้ดี แสดงอารมณ์ที่ดี ซึ่งล้วนแต่มีผลเป็นประสิทธิภาพงานที่ดีกว่า[28]

บทบาทของแรงจูงใจ

แม้ว่าจะมีทฤษฎีหลายหลาก แรงจูงใจเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับประสิทธิผลการทำงานที่ยอมรับกันมากที่สุด[26][28]วรรณกรรมที่มีอยู่แสดงว่า ผู้ประเมินตัวเองต่ำ (คือ มีคะแนน CSE ต่ำ) จะเห็นว่างานยาก เกินความสามารถ หรือควบคุมไม่ได้ และดังนั้นจึงบริหารจัดการไม่ได้ซึ่งจะทำให้มีแรงจูงใจต่ำ และมีผลเป็นประสิทธิภาพงานที่ต่ำเทียบกับคนที่มีคะแนน CSE สูง จะมีแรงจูงใจสูงเพื่อทำงานที่ยากให้สำเร็จเพราะเชื่อว่า ตนมีความสามารถและสามารถควบคุมสถานการณ์เพื่อให้งานสำเร็จได้ดังนั้น ผู้ที่มีคะแนน CSE และมีแรงจูงใจสูง จึงมีโอกาสมีประสิทธิภาพในงานมากกว่า[28]